เฟรม (Frame) ตอนที่ 2

การแก้ปัญหาหาก Browser ไม่รู้จักเฟรม
         เฟรมได้รับการแนะนำให้รู้จักกันตั้งแต่ Internet Explorer 3.0 และ Netscape 2.0 เป็นต้นมา ดังนั้นหากใช้ Browser ที่เก่ากว่านี้ก็ไม่สามารถดูได้ ไม่แนะนำให้ใช้เฟรมแต่ถ้าหากมั่นใจว่าผู้ชมส่วนมากใช้ Browser ที่สามารถดูเฟรม ได้ก็สามารถใช้ได้ แต่มีทางเลือกโดยการสั่งให้ตรวจสอบ Browser ก่อนการรับชมได้ถ้าหากไม่สามารถดูได้ก็จะเปิด หน้าเพจเตือนให้ทำการคลิกเพื่อไปยังหน้าที่สำรองไว้ วิธีการทำดังนี้
       คลิกที่ขอบเฟรมด้านนอกให้ทำงาน
       มาที่เมนูคลิก Modify > Frameset > Edit NoFrames Content

        จากนั้นจะมีหน้าเพจใหม่เกิดขึ้นให้ทำการพิมพ์ข้อความที่แสดงถึงว่าผู้ที่นั้นไม่สามารถรับชมได้แล้วทำที่ลิ้งค์ไปยังเพจสำรอง
ที่ได้ทำไว้

       จากนั้นให้มาที่เมนูคลิก Modify > Frameset > Edit NoFrames Content อีกครั้งเพื่อกลับเข้าสู่หน้าทำงานเดิมอีกครั้ง

การทำลิงค์เฟรม
        การทำลิงค์เฟรมก็เหมือนกับการลิงค์ไปยังหน้าเพจอื่นทั่วไป วิธีการลิงค์ก็เหมือนกันแต่เราสามารถกำหนดว่าจะให้ทำการ เปิดหน้าใหม่หรือจะให้ลิงค์ไปยังเฟรมข้าง ๆ ก็ได้ ก่อนอื่นต้องมาทำความเข้าใจเรื่องการใช้เฟรม จุดประสงค์หลักของการ ใช้เฟรมก็คือการประหยัดในการสร้างหน้าเพจที่เป็นเหมือนกับสารบัญซ้ำๆ กันทุกๆ หน้า เฟรมจะช่วยทำการลิงค์โดยหน้าสารบัญ ยังอยู่โดยเปลี่ยนแต่หน้าเนื้อหาดังตัวอย่าง

ตัวอย่างการลิงค์จากเฟรมซ้ายไปยังเฟรมขวาจะสังเกตเห็นว่าเฟรมซ้ายไม่มีการเปลี่ยนแปลง ส่วนเฟรมขวาจะเปลี่ยนไปยังหน้าที่ได้ลิงค์ไปหา

ขั้นตอนการลิงค์
       ให้ทำการสร้างไฟล์ใหม่สามไฟล์คือ test1.html test2.html และ test3.html
       การสร้างไฟล์ใหม่
       ให้คลิก Show Site ที่ Teskbar

       จะปรากฏ Dialog box Site ( ต้องเป็น Site ที่ได้ทำการสร้างไว้ตั้งแต่ตอนต้น )

       มาที่เมนู Site คลิกที่ File > New File
       ให้ทำการเปลี่ยนชื่อเป็น test1.html และใช้วิธีเดียวกันสร้าง test2 และ 3 ตามลำดับ
       หลังจากได้สามไฟล์แล้วให้ดับเบิ้ลคลิกที่ tes1.html เพื่อทำการสร้างข้อความ
       ในไฟล์ test1.html ให้พิมพ์ข้อความว่า Test1 ขนาดตัวอักษรกำหนดให้ขนาด Head1 จากนั้นทำการเซฟ
       และให้ทำอย่างเดียวกันกับ test2 และ 3 ตามลำดับ และให้ทำการเปลี่ยนข้อความด้วย

       จากนั้นให้กลับมาที่ Frames Set main_frame.html เพื่อทำการลิงค์
       ให้มาที่เฟรมซ้ายโดยคลิกที่พื้นที่ในเฟรมซ้ายให้ทำงาน
       ให้พิมพิมพ์ Test1 Test2 และ Test3 ดังรูป

       ทำการป้ายทับตัวอักษรเพื่อทำการลิงค์

        จากนั้นให้มาที่ Properties inspectorในช่องลิงค์

        คลิกที่ Browse for File
        ให้เลือกไฟล์ test1.html จาก Dialog box
        จากนั้นคลิก Select
        ต่อมาให้มาดูที่ช่อง Target ให้เลือกเป็น mainframe

        จากนั้นให้ทำการลิงค์ Test2 และ 3 ด้วยวิธีเดียวกับ Test1
        พอทำการลิงค์เรียบร้อยแล้วให้เซฟ
        กด F12 เพื่อทดสอบการลิงค์
        ให้ทดลองคลิกที่ Test1 ในเฟรมด้านซ้ายให้สังเกตเฟรมด้านขวาจะเกิดการเปลี่ยนแปลงโดยจะเป็นหน้า Document test1.html และจะมีข้อความว่า Test1 ขนาด                Head1 และคลิก Back กลับมายังหน้าเดิมและทำการคลิกที่ Test2 และ 3 ตามลำดับ


<< [ BACK ] [ NEXT ] >>

Copy Right © 2002"JesuswOrK" , All rights reserved.
These web sites are best viewed with an 800 x 600 screen resolution.
Web site designed by webmaster
  tel : (054) - 312281
1 1