Home | Webboard | Chatroom | Guestbook | Tips and Tricks | IRC Commands | Top Downloads | Free Links | Webmaster
รับทำ Homepage และ วิเคราะห์ข้อมูลงานวิจัยด้วย SPSS version 10.0.7 Tel: 06-1914469

เทคนิคง่ายๆ ในการบำรุงรักษาฮาร์ดดิสก์

Defrag ฮาร์ดดิสก์อย่างสม่ำเสมอ

อย่างแรกที่เราไม่ควรจะลืมก็คือการ Defrag ซึ่งก็คือการจัดเรียงข้อมูลในฮาร์ดดิสก์เสียใหม่เพื่อให้ฮาร์ดดิสก์ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด ถามว่าทำไมถึงต้อง Defrag เราต้องมาทำความเข้าใจเสียก่อนว่าการทำงานของฮาร์ดดิสก์เป็นอย่างไร

ทุกครั้งที่เราเขียนข้อมูลไม่ว่าจะด้วยการติดตั้งโปรแกรมใหม่ หรือว่าใช้คำสั่ง Save จากโปรแกรมใดๆ ก็ตาม หรือแม้แต่การดาวน์โหลดโปรแกรมจากอินเทอร์เน็ต รวมไปถึงการก๊อบปี้ข้อมูลลงไปในฮาร์ดดิสก์นั้น สิ่งที่เครื่องคอมพิวเตอร์ต้องสั่งให้ฮาร์ดดิสก์ทำก็คือเขียนข้อมูลเหล่านั้นลงไปบนพื้นที่ว่างบนฮาร์ดดิสก์นั่นเอง ซึ่งการเขียนข้อมูลของฮาร์ดดิสก์นั้นจะไม่เหมือนกับการเขียนข้อมูลในหนังสือหรือกระดาษอย่างที่เราทำกัน แต่โครงสร้างของไดรฟ์จะแบ่งออกเป็นส่วนย่อยๆ เป็นบล็อกอย่างที่เรารู้จักกันคือคลัสเตอร์ ในการเขียนข้อมูลนั้นเครื่องคอมพิวเตอร์ต้องเข้าไปจองพื้นที่เป็นคลัสเตอร์โดยที่ไม่สนใจว่าจะใช้เต็มพื้นที่หรือไม่ ถ้าข้อมูลมีขนาดใหญ่เกินไปก็จะใช้พื้นที่หลายๆ คลัสเตอร์ ซึ่งจะว่าไปแล้วในตอนแรกนั้นข้อมูลก็ยังคงจะเรียงกันอย่างเป็นระเบียบอยู่อย่างที่มันควรจะเป็น แต่ว่าเมื่อมีการใช้งานหนักเข้าเรื่อยๆ โดยเฉพาะแอพพลิเคชันต่างๆ บนวินโดวส์จำเป็นต้องมีการเปิดไฟล์หลายๆ ไฟล์พร้อมกัน รวมทั้งมีการเขียนและลบไฟล์บ่อยๆ จะทำให้ข้อมูลกระจัดกระจายออกไป

ถึงตรงนี้อย่าเพิ่งงงครับว่าข้อมูลจะกระจายออกไปได้อย่างไร ลองคิดว่าเรามีข้อมูล A ขนาด 5 หน่วย B 3 หน่วยและ C 2 หน่วยซึ่งตอนแรกนั้นไฟล์ทั้ง 3 ยังเรียงกันอยู่ตามปกติ แต่หลังจากที่เราใช้งานไปแล้ว เราไปลบไฟล์ B ออกไป พื้นที่ 3 บล็อกที่เคยใช้เก็บข้อมูล B ตั้งแต่บล็อกที่ 6 ถึง 8 จะว่างลง ดังนั้นถ้าหากเราต้องการเขียนไฟล์ D ขนาด 5 หน่วยลงไป D จะถูกแบ่งออกเป็นสองส่วน ส่วนแรกขนาด 3 หน่วยไปแทนที่ B และที่เลือกจะต่อจาก C ออกมา จะเห็นว่าข้อมูลของ D นั้นจะไม่ต่อเนื่องกัน หรืออีกกรณีหนึ่ง ถ้ามี 3 ไฟล์แรกอยู่แล้ว โดยที่เราไม่ได้ลบไฟล์ B ออกไปก็ตาม แต่เราแก้ไขไฟล์ A จนมีขนาด 7 หน่วย ข้อมูล 5 หน่วยแรกจะยังคงอยู่ที่เดิม ส่วนที่เหลือก็จะกระจายไปอยู่อีกที่หนึ่ง

นั่นเป็นตัวอย่างที่ผมลองยกตัวอย่างให้เห็นว่าทำไมข้อมูลถึงกระจายออกไปได้เอง ซึ่งเมื่อมีข้อมูลที่กระจายออกไปมากๆ เข้า ผลก็คือฮาร์ดดิสก์จะต้องใช้เวลาเข้าถึงและค้นหาข้อมูลมากขึ้นเพราะข้อมูลไม่ได้อยู่ติดกันอีกต่อไป จึงส่งผลให้ฮาร์ดดิสก์ทำงานหนักขึ้นโดยไม่จำเป็นและยังทำงานช้าลงอีกด้วย สุดท้ายแล้วสิ่งที่ยูสเซอร์จะพบก็คือเครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งระบบจะทำงานช้าลงมาก อาการนี้สังเกตได้ไม่ยากถ้ามีเสียงฮาร์ดดิสก์ทำงานมากกว่าปกติ นั่นก็เป็นการบอกเป็นนัยๆ แล้วว่าเราควรจะทำการ Defrag ข้อมูลได้แล้ว

การ Defrag ฮาร์ดดิสก์แบบง่ายๆ เราสามารถใช้โปรแกรม Defrag ของวินโดวส์เองโดยไม่ต้องใช้โปรแกรมอื่นๆ ก็ได้ โดยเข้าไปที่ Start>Program>Accessories>System Tools>Disk Defragmenter หรืออาจจะคลิ้กขวาที่ไอคอนของฮาร์ดดิสก์ใน My Computer แล้วเลือกที่ Properties จากนั้นเลือกที่แทป Tools แล้วจึงคลิ้กที่ปุ่ม Defragment Now โดยก่อนอื่นเราจะต้องปิดแอพพลิเคชันที่ทำงานอยู่ให้หมดเสียก่อน จากนั้นภายในโปรแกรมก็ให้เลือกไดรฟ์ที่ต้องการ แล้วสั่งให้โปรแกรมทำงานได้ทันที สำหรับลูกเล่นของโปรแกรมไม่มีอะไรมากนัก ก่อนใช้งานถ้าหากปิดฟีเจอร์ Screen Saver ของวินโดวส์ได้ก็ควรจะปิดเพื่อไม่ให้ทั้งสองโปรแกรมมีผลต่อกัน สำหรับการตั้งเวลาการทำงานล่วงหน้าหรือฟีเจอร์เพิ่มเติมอื่นๆ นั้นจำเป็นต้องใช้ Maintenance Wizard, Scheduled Task หรือว่า Microsoft Plus ช่วยจึงจะทำได้

อีกโปรแกรมหนึ่งที่น่าสนใจสำหรับการ Defrag ข้อมูลในฮาร์ดดิสก์ก็คือ Diskeeper(www.execsoft.com) ในการทำงานทั่วๆ ไปนั้นค่อนข้างจะเหมือนกับของวินโดวส์ แต่โปรแกรมใช้งานได้ง่ายกว่า และยังมีประสิทธิภาพสูงกว่า โดยที่โปรแกรมถูกอกแบบมาให้เหมาะในการใช้งานทั้งเครื่องพีซีธรรมดาหรือแม้แต่บนเน็ตเวิร์กก็ตาม นอกจากนั้นแล้วโปรแกรมยังมีฟีเจอร์สำหรับการตั้งเวลาทำงานล่วงหน้ามาให้อีกด้วยทำให้เราไม่ต้องกังวลเรื่องการ Defrag อีกต่อไป ส่วนฟีเจอร์หนึ่งที่น่าสนใจของโปรแกรมก็คือ Frag Guard ซึ่งจะคอยป้องกันการเกิด fragmentation หรือข้อมูลไม่ต่อเนื่องใน MFT (Master File Table) ของวินโดวส์เอ็นทีและ 2000 รวมทั้งยังสามารถ Defrag ข้อมูลจากหลายๆ ไดรฟ์พร้อมกันได้อีกด้วย ส่วนฟีเจอร์การทำงานบนเน็ตเวิร์กนั้นคุณสามารถควบคุมและสั่งงานให้โปรแกรมจัดการกับไดรฟ์บนเน็ตเวิร์กได้โดยตรง โดยที่ไม่ต้องกังวลว่าระบบรักษาความปลอดภัยของระบบจะคอยป้องกันไม่ให้ใช้งานและไม่ต้องคอยคอนฟิกโปรแกรมบ่อยๆ อีกด้วยเพราะว่าเมื่อคอนฟิกโปรแกรมเสร็จในครั้งแรก โปรแกรมก็พร้อมจะใช้งานได้ทันที

1