Home | Webboard | Chatroom | Guestbook | Tips and Tricks | IRC Commands | Top Downloads | Free Links | Webmaster
รับทำ Homepage และ วิเคราะห์ข้อมูลงานวิจัยด้วย SPSS version 10.0.7 Tel: 06-1914469

หลักการพิจารณาและการเลือกซื้ออุปกรณ์ต่าง ๆ ของเครื่องคอมพิวเตอร์

สิ่งแรก ที่ควรจะต้องคำนึงถึงมากที่สุดในการ Upgrade หรือการเลือกซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ใหม่คือ ถามใจคุณก่อนว่าต้องการซื้อคอมพิวเตอร์มาเพื่อทำอะไร เหตุผลหลัก ๆ ของผู้ใช้คอมพิวเตอร์ในสมัยนี้ผมขอแบ่งเป็นหัวข้อดังนี้

1. สำหรับใช้งานทั่ว ๆ ไปเช่น พิมพ์งานเอกสาร ต่าง ๆ หรือสำหรับเล่นอินเตอร์เน็ต
2. สำหรับการเล่นเกมส์คอมพิวเตอร์โดยเฉพาะ
3. สำหรับงานที่ต้องใช้ความเร็วของ CPU สูง เช่นการใช้ทำงานเกี่ยวกับ CAD หรือการ Encode ต่าง ๆ
4. สำหรับใช้เป็นเครื่อง Server

ดังนั้น คำถามแรกสำหรับคุณ คือต้องการที่จะ Upgrade หรือซื้อคอมพิวเตอร์ มาเพื่อใช้สำหรับทำอะไร แล้วก็เลือกอุปกรณ์ต่าง ๆ ให้เหมาะสมกับงานของคุณ (โดยที่อาจจะมีการเผื่อการ Upgrade ในอนาคตด้วย)

หลักการเลือกซื้อ CPU สำหรับคอมพิวเตอร์

การเลือก CPU สำหรับคอมพิวเตอร์ นี้ควรจะเป็นสิ่งแรก ที่ต้องนึกถึงก่อนอย่างอื่น ให้มองภาพให้ออกก่อนว่า CPU ที่มีใช้งานอยู่ในตลาดปัจจุบันนี้มีรุ่นไหน ความเร็วเท่าไรกันบ้าง อย่าลืมว่า ยิ่ง CPU ที่มีความเร็วสูง ๆ ราคาก็จะยิ่งแพงตามไปด้วย หากท่านเลือกซื้อ CPU ที่ราคาแพง ๆ เมื่อใช้งานไปได้สักระยะหนึ่ง CPU ที่คุณเคยภูมิใจนักหนา อาจจะมีราคาตกลงมา เหลือแค่หลักพันต้น ๆ ก็ได้ ดังนั้นควรเลือกซื้อ CPU ที่เหมาะกับการใช้งานของคุณเองดีกว่า หากต้องการใช้งาน คอมพิวเตอร์ แบบธรรมดา ใช้พิมพ์เอกสารต่าง ๆ เล่นอินเตอร์เน็ต ก็เลือก CPU ที่ราคาถูก ๆ ก็เพียงพอแล้ว แต่หากใครต้องการเน้นไปที่ การใช้งานแบบหนัก ๆ ก็คงจะต้องเลือก CPU ที่มีความเร็วและประสิทธิภาพสูงขึ้นไปอีกสักหน่อย อย่าลืมนะครับว่า ควรเลือกอุปกรณ์สำหรับเผื่อการ Upgrade ในอนาคตด้วย

การแบ่งชนิดของ CPU ขอแบ่งออกตามการออกแบบ และชนิดของเมนบอร์ดที่ใช้งานดังนี้

  • Intel Pentium 100-166 MHz ใช้กับเมนบอร์ดแบบ Socket 7 รุ่นแรก ๆ
  • Intel Pentium MMX 166-233 MHz ใช้กับเมนบอร์ดแบบ Socket 7 ที่ Support MMX
  • AMD K6-II 266-366 MHz ใช้กับเมนบอร์ดแบบ Socket 7 ทำงานที่ FSB 66 MHz
  • AMD K6-II 350-550 MHz ใช้กับเมนบอร์ดแบบ Super Socket 7 ทำงานที่ FSB 100 MHz
  • AMD K6-III 400-450 MHz ใช้กับเมนบอร์ดแบบ Super Socket 7 ทำงานที่ FSB 100 MHz
  • Intel Pentium II 233-333 MHz ใช้กับเมนบอร์ดแบบ Slot 1 ทำงานที่ FSB 66 MHz
  • Intel Pentium II 350-450 MHz ใช้กับเมนบอร์ดแบบ Slot 1 ทำงานที่ FSB 100 MHz
  • Intel Pentium III 450-600 MHz ใช้กับเมนบอร์ดแบบ Slot 1 ทำงานที่ FSB 100 MHz
  • Intel Pentium III Coppermine 500 MHz ขึ้นไป ใช้กับเมนบอร์ดแบบ Socket 370 FC-PGA
  • Intel Celeron 266-533 MHz ใช้กับเมนบอร์ดแบบ Socket 370 ทำงานที่ FSB 66 MHz
  • Intel Celeron II 566 MHz ขึ้นไป ใช้กับเมนบอร์ดแบบ Socket 370 ทำงานที่ FSB 66 MHz
  • AMD Athlon 500 MHz ขึ้นไป ใช้กับเมนบอร์ดแบบ Slot A ทำงานที่ FSB 200 MHz (DDR)
  • AMD Duron 550 MHz ขึ้นไป ใช้กับเมนบอร์ดแบบ Socket A ทำงานที่ FSB 200 MHz (DDR)

อีกปัจจัยหนึ่งของการเลือก CPU คือขนาดของ Cache นะครับ โดยที่ Cache ส่วนใหญ่จะแบ่งออกเป็น 2 แบบคือ L1 และ L2 Cache (หรือ Cache Level 1 กับ Level 2) จะอยู่ในแผ่นชิปเดียวกับ CPU ทำงานที่ความเร็วเท่ากับ CPU แบบ Full Speed หรือทำงานที่ความเร็วครึ่งหนึ่งของ CPU หรือเรียกว่า Half Speed ดังนั้น ต้องหาข้อมูลของ CPU รุ่นต่าง ๆ กันก่อนนะครับ ว่ารุ่นไหนมี L1 และ L2 ขนาดเท่าไร ทำงานที่ความเร็วเท่าไร ยิ่งจำนวนของ Cache มีมากเท่าไร ก็จะได้ประสิทธิภาพของ CPU มากขึ้นนะครับ แถมท้ายเป็นความรู้นิดนึงนะครับ ว่าด้วยเหตุผลนี้เองที่ทำให้ Intel ต้องออก CPU แบบ Celeron มาโดยลดขนาดของ Cache ลงเพื่อให้เป็น CPU ราคาถูกแข่งขันกับ AMD แต่การลดขนาดของ Cache ก็ทำให้ประสิทธิภาพลดลงไปด้วยนะ

หากจะแบ่ง CPU ตามราคาต่าง ๆ แล้ว ก็อาจจะสามารถแบ่งออกเป็น 2 ระดับ

  • CPU สำหรับตลาดระดับล่าง จะเป็น CPU ที่มีราคาค่อนข้างถูก คือ AMD K6II, AMD K6III และ Intel Celeron
  • CPU สำหรับตลาดระดับกลาง จะเป็น CPU ที่มีราคาสูงขึ้นมา แต่จะได้ประสิทธิภาพต่าง ๆ มากขึ้นเช่น Intel Pentium II, Intel Pentium III หรือ AMD Athlon
  • CPU สำหรับตลาดระดับสูง สำหรับงานที่ใช้ความเร็วค่อนข้างมากเช่นการทำ Server ต่าง ๆ ซึ่งขอไม่พูดถึง

ในส่วนของ CPU ของค่าย Intel รุ่นใหม่ ๆ ที่เป็นแบบ Coppermine เช่น 500E, 550E, 533EB จะเห็นว่ามีรหัสต่อท้ายความเร็วด้วยนะครับ โดยที่ความหมายของรหัสต่าง ๆ คือ

  • E หมายถึง CPU แบบ Coppermine ใช้เทคโนโลยี 0.18 ไมครอน ใช้ FSB 100 MHz
  • B หมายถึง CPU ที่ทำงานโดยใช้ FSB เป็น 133 MHz
  • EB หมายถึง CPU แบบ Coppermine ใช้เทคโนโลยี 0.18 ไมครอน ใช้ FSB 133 MHz
  • ในส่วนของ CPU ที่ความเร็วสูงกว่า 667 MHz จะไม่มีรหัสต่อท้ายนะครับ เพราะว่าถ้าความเร็วสูงกว่านี้ก็คือจะเป็น EB ทั้งหมดซึ่งใช้ FSB เป็น 133MHz

สำหรับการเลือก CPU ที่เป็นแบบ FSB 133 MHz ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง ที่จะทำให้ประสิทธิภาพ โดยรวมของระบบ ทำงานได้เร็วขึ้นกว่า CPU ที่ทำงานที่ FSB 100 MHz เพราะว่าการส่งถ่ายข้อมูลต่าง ๆ จะทำได้เร็วกว่า แต่ข้อเสียของ CPU แบบ FSB 133MHz คืออุปกรณ์ต่าง ๆ รอบข้างต้องมีคุณภาพค่อนข้างดีด้วย ไม่เช่นนั้นจะก่อให้เกิดปัญหาได้มาก และข้อเสียอีกอย่างหนึ่งก็คือ เพราะความเร็วบัสที่สูงถึง 133 MHz อยู่แล้วจึงทำให้การทำ Over Clock ทำได้ยากหรือทำไม่ได้เลย หากใครคิดจะซื้อมาลองทำ Over Clock ก้ให้เลือกแบบ FSB 100 MHz

หลักการเลือกซื้อ เมนบอร์ดสำหรับคอมพิวเตอร์

จากช้อมูลของ CPU ก็จะเห็นว่า เมนบอร์ด สามารถเบ่งออกเป็นหมวดใหญ่ ๆ ได้คือ Socket 7 , Slot 1, Socket 370, Slot A และ Socket A นะครับ ก่อนอื่น หากท่านคิดจะเลือก CPU ตัวใหม่หรือจะทำการ Upgrade CPU ตัวเก่า ก็ลองมองดูก่อนนะครับว่า เมนบอร์ดอันเก่าของคุณนั้นเป็นแบบไหน จากนั้นก็หาข้อมูลว่าเมนบอร์ดนั้น ๆ สามารถรองรับ CPU ได้ความเร็วสูงสุดเท่าไร ลองพิจารณาดูข้อมูลของเมนบอร์ดแบบต่าง ๆ และความเร็วสูงสุดของ CPU ที่มีออกวางจำหน่ายด้วยนะครับ เพราะว่าบางครั้ง คุณอาจจะเพียงแค่เปลี่ยน CPU อย่างเดียวโดยยังใช้เมนบอร์ดเดิมก็ได้ ซึ่งจะเป็นการประหยัดเงินไปได้มากครับ หากเป็นการเลือกซื้อ เมนบอร์ด ใหม่เลย ผมขอยกตัวอย่างนะครับ เช่น เมนบอร์ดแบบ Socket 7 ในปัจจุบันนี้ ก็จะมี CPU ที่มีความเร็วสูงสุดเพียงแค่ K6II-550 MHz เท่านั้น ซึ่งหากคิดว่าจะไม่ทำการ Upgrade เครื่องคอมพิวเตอร์ ก็สามารถเลือกตัวนี้ได้ (เพราะว่าราคาจะถูกกว่า) แต่สำหรับเมนบอร์ดแบบ Slot 1 หรือ Slot A ปัจจุบันนี้ ยังมี CPU รุ่นใหม่ ๆ ออกมาอยู่เรื่อย ๆ ซึ่งความเร็วสูงสุดอาจจะขึ้นไปถึง 1GHz ก็ได้ คงต้องรอดูกันต่อไป

ในส่วนของเมนบอร์ด ก็จะมีอุปกรณ์อีกชนิดหนึ่ง ที่นิยมใช้กันมากคือ Slotket โดยหน้าที่หลักคือเป็นตัว Adapter หรือตัวแปลงให้สามารถนำเอา CPU แบบ Socket 370 (เช่น Celeron หรือ Pentium Coppermine) มาใช้งานบนเมนบอร์ดแบบ Slot 1 ได้ ส่วนใหญ่แล้ว มักจะนิยมซื้อเมนบอร์ดแบบ Slot 1 มาใช้กันมากกว่า เพราะว่าสามารถใช้งานกับ CPU Celeron ซึ่งมีราคาถูกได้ เมื่อต้องการจะ Upgrade เครื่องก็เพียงแค่เปลี่ยน CPU ไปเป็น Pentium III หรือ Coppermine ได้โดยไม่ยากนัก

ปัจจัยสำคัญที่ไม่ควรมองข้ามสำหรับการเลือก เมนบอร์ด คือข้อมูลรายละเอียด Specification ต่าง ๆ ขอสรุปแนวทางการเลือกคร่าว ๆ ดังนี้

  • ชนิดและความเร็วของ CPU ที่ใช้งาน เช่นแบบ Socket 7, Slot 1 หรือแบบอื่น ๆ สามารถรองรับ CPU ความเร็ว ต่ำสุด-สูงสุด ได้เท่าไร
  • ชนิดของ Power Supply ว่าสามารถใช้กับ Power Supply แบบ AT หรือ ATX หรือใช้ได้ทั้งคู่
  • จำนวนของ ISA, PCI และ AGP Slot สำหรับเสียบการ์ดอุปกรณ์ต่าง ๆ ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้ว ISA จะเป็นอุปกรณ์แบบเก่า ๆ หากท่านยังใช้งานอุปกรณ์แบบ ISA อยู่ก็ต้องมองหาเมนบอร์ดที่มี ISA Slot ไว้ด้วย ส่วน PCI Slot จะเป็นการ์ดทั่ว ๆ ไปที่ใช้งานอยู่ และ AGP Slot ซึ่งใช้สำหรับการ์ดจอโดยเฉพาะ (AGP Slot จะมีเฉพาะในเมนบอร์ดรุ่นใหม่ ๆ และมีเพียงแค่อันเดียว) ก็ดูที่ความเร็วว่าเป็น AGP แบบ 1X, 2X หรือ 4X
  • ชนิดและจำนวนของช่องเสียบ RAM และขนาดของ RAM สูงสุดที่สามารถขยายได้ในอนาคต
  • การปรับแต่งค่าต่าง ๆ เป็นแบบ Jumper หรือแบบใช้ Software ปรับใน BIOS หากเป็นการปรับแต่งค่าต่าง ๆ ได้ใน BIOS ก็จะทำให้เราสามารถปรับเปลี่ยนค่าต่าง ๆ ได้โดยไม่ต้องเปิดฝาเคสชองเครื่องครับ
  • ความเร็วของ FSB และตัวคูณ ที่สามารถปรับแต่งได้ อันนี้สำหรับผู้ที่ต้องการทำ Over Clock นะครับเพราะเมนบอร์ดบางรุ่นจะสามารถปรับความเร็วของ CPU ได้อย่างละเอียด บางรุ่นจะปรับได้แค่ค่าที่ใช้งานทั่ว ๆ ไป ซึ่งก็ต้องดูจุดประสงค์สำหรับการใช้งานด้วย หากไม่ได้คิดจะทำ Over Clock ก็คงจะไม่จำเป็นนัก
  • การต่อใช้งาน HDD ถ้ารองรับ Interface ของ HDD แบบ UDMA-66 ก็จะช่วยให้การทำงานต่าง ๆ เร็วขึ้น
  • อุปกรณ์ Port ต่าง ๆ ที่มีแถมมาให้ด้วยเช่น USB Port หรือ Infrared Port
  • สำหรับการเลือกซื้อเมนบอร์ดเพื่อทำ Over Clock ก็ต้องเลือก เมนบอร์ด รุ่นที่มีความสามารถปรับอัตราส่วนความเร็วของแรม และความเร็วของระบบบัสต่าง ๆ ของ PCI หรือ AGP ที่ละเอียดขึ้นด้วยนะครับเช่นการใช้งานที่ FSB 133 MHz โดยที่ PCI และ AGP ยังทำงานในความเร็วมาตราฐานได้ด้วย
  • Chip Set ที่ใช้งานกับเมนบอร์ดนั้น ๆ ก็ลองมองดูสักหน่อยครับ ว่าเป็นของอะไร และจะมีปัญหากับอุปกรณ์อื่น ๆ หรือไม่ เช่นที่เคยทราบมาว่า Chip Set ของ ALI จะมีปัญหากับการ์ดจอของ TNT เป็นต้น อันนี้ต้องศึกษาข้อมูลเรื่องการไม่เข้ากันของอุปกรณ์บางอย่างให้ดีด้วยครับ รายละเอียดต่าง ๆ ผมขอแนะนำให้ลองหาข้อมูลตามเวปบอร์ดต่าง ๆ ที่มีคุยกันเรื่องเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์นะครับ เช่นที่ http://www.pantip.com เป็นต้น
  • เลือกยี่ห้อของเมนบอร์ดที่มีการ Support หรือการ Update Driver ใหม่ ๆ ได้ง่ายจากอินเตอร์เน็ต ซึ่งจะทำให้เราสามารถรับรู้ข่าวและการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้นรวมถึงการเปลี่ยนให้เมนบอร์ดสามารถใช้งานกับ CPU รุ่นใหม่ ๆ ที่อาจจะมีออกมาในอนาคตได้ด้วย

นอกจากนี้ สำหรับท่านที่มีงบน้อย ๆ เมนบอร์ดแบบ All in One เป็นเมนบอร์ดอีกแบบหนึ่ง ที่เรียกได้ว่ามีราคาประหยัดมากเลย ลักษณะของเมนบอร์ดชนิดนี้คือจะมีการนำเอา VGA Card, Sound Card, Modem, LAN Card หรืออุปกรณ์อื่น ๆ มารวมไว้บนเมนบอร์ดของคุณ ข้อดีของเมนบอร์ดขนิดนี้คือ ราคาถูก ได้อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่จำเป็นครบ โดยไม่ต้องไปหาซื้อเพิ่มเติม แต่ข้อเสียของเมนบอร์ดแบบนี้คือ อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่มารวมกันอยู่บนเมนบอร์ดนี้ จะทำให้ CPU ต้องแบ่งการทำงาน มาให้กับอุปกรณ์เหล่านี้ด้วย ซึ่งอาจจะทำให้เครื่องโดยรวมช้ากว่าการใช้เมนบอร์ดแบบแยกส่วนมาก นอกจากนี้ เมนบอร์ดแบบนี้จะไม่ค่อยมี Slot ของการ์ดต่าง ๆ มาให้ขยายเพิ่มเติมมากนัก ส่วนใหญ่จะมีแค่เพียง Slot เดียว ซึ่งทำให้ยากต่อการขยับขยายในอนาคต หรือถ้าหากอุปกรณ์บางอย่างเกิดเสียขึ้นมา ก็อาจจจะไม่สามารถเปลี่ยนเฉพาะอุปกรณ์นั้น ๆ ได้ (ในเมนบอร์ดรุ่นใหม่ ๆ อาจจะเปลี่ยนได้โดยการ Disable อุปกรณ์ที่มีอยู่บนเมนบอร์ดนั้น แล้วซื้อการ์ดใหม่มาเสียบแทน แต่ส่วนใหญ่ก็จะมีปัญหาตามมาครับ เช่นถ้ายกเลิก Sound Card ก็จะต้อง Disable Modem ที่อยู่บนเมนบอร์ดด้วย ต้องดูข้อมูลให้ดีนะครับ) สรุปว่า เมนบอร์ดแบบนี้เหมาะกับการใช้งานแบบธรรมดา พิมพ์เอกสาร เล่นอินเตอร์เน็ต ที่ไม่หนักมากนัก และไม่เน้นการเล่นเกมส์หรือการเพิ่มเติมเปลี่ยนแปลงอุปกรณ์บ่อย ๆ นัก เพราะว่าข้อดีของเมนบอร์ดแบบนี้คือ ราคาที่ถูกแสนถูก

การเลือกซื้อ Case สำหรับคอมพิวเตอร์

Power Supply และ Case สำหรับเมนบอร์ดก็เป็นอีกข้อหนึ่งครับที่ไม่ควรมองข้าง โดยทั่วไปแล้วคอมพิวเตอร์รุ่นเก่า ๆ จะใช้ Case แบบ AT แต่ถ้าหากเป็นรุ่นใหม่ ๆ แล้วจะเป็นแบบ ATX นะครับ ข้อดีของ Case และ Power Supply แบบ ATX คือ การออกแบบให้มีการระบายความร้อนได้ดีกว่า และการใช้ Power Supply แบบใหม่ซึ่งจะทำให้สามารถใช้งานระบบ Power Management ต่าง ๆ ได้เช่นการตั้งเวลา เปิด-ปิด เครื่อง เป็นต้น และนอกจากนี้อย่าลืมว่า เมนบอร์ดรุ่นใหม่ ๆ เดี๋ยวนี้ก็จะใช้กับ Case และ Power Supply แบบ ATX เป็นส่วนใหญ่หมดแล้วนะครับ สำหรับท่านที่คิดจะทำการ Upgrade เครื่องเดิมที่เป็น Case แบบ ATแต่หาเมนบอร์ดได้ยาก ก็ลองมองดูส่วนของ Case นี้ด้วยนะครับหากเป็นไปได้ก็อาจจะลงทุนซื้อ Case พร้อม Power Supply แบบ ATX ใหม่ไปเลย ราคาก็คงอยู่หลักพันต้น ๆ เท่านั้น

ขนาดของ Power Supply รุ่นเก่า ๆ จะเป็น 200 วัตต์ หากเป็น Power Supply รุ่นใหม่ ๆ หน่อยก็จะเป็น 230-250 วัตต์ หรือสูงกว่านี้แล้ว ถ้าเป็นไปได้ควรเลือกขนาดของ Power Supply ขนาดวัตต์สูง ๆ ไว้ก็ดี

การเลือกซื้อ ฮาร์ดดิสก์ สำหรับคอมพิวเตอร์

ในส่วนของ ฮาร์ดดิสก์ ก็คงจะไม่มีอะไรให้เลือกมากนัก หากเป็นการ Upgrade เครื่องเก่า ก็ลองมองดูว่า ฮาร์ดดิสก์ ตัวเดิมของคุณยังมีขนาดเพียงพอสำหรับการใช้งานหรือไม่ สิ่งแรกที่ผมมองว่าควรจะพิจารณา คือขนาดความจุ หากเป็นการซื้อฮาร์ดดิสก์ตัวใหม่ เลือกขนาดที่ใหญ่ ๆ ไว้ก่อนก็ดี (ถ้าคุณมีเงินมากพอ) เพราะว่าในอนาคต ความต้องการใช้งานฮาร์ดดิสก์จะต้องการขนาดความจะที่ใหญ่ขึ้นไปเรื่อย ๆ ผมขอสรุปปัจจัยสำคัญที่ไม่ควรมองข้ามในการเลือก ฮาร์ดดิสก์ ดังนี้

  • ขนาดความจุของฮาร์ดดิสก์ พิจารณาและคำนวณราคาต่อหน่วยความจำให้ดี
  • ความเร็วการส่งถ่ายข้อมูล จะมีแบบ UDMA-33 และ UDMA-66 ก็เลือกแบบ UDMA-66 เพราะการส่งถ่ายข้อมูลจะทำได้เร็วกว่า (โดยที่หลาย ๆ ท่านบอกว่า ไม่มากนัก) และหากใครคิดจะใช้ความสามารถแบบ UDMA-66 ให้เต็มที่ก็ต้องเลือก เมนบอร์ด ที่สามารถใช้งานฮาร์ดดิสก์แบบ UDMA-66 ด้วย
  • ขนาดของ Buffer ที่เห็นมีอยู่ในปัจจุบันก็จะเป็น 512K, 1M และ 2M ยิ่งขนาดมากก็ยิ่งดี (แต่จะแพงขึ้น)
  • ความเร็วรอบ จะเห็นมีอยู่ 2 แบบคือ 5,400 และ 7,200 รอบต่อนาที ถ้าความเร็วรอบสูง การเข้าถึงข้อมูลในฮาร์ดดิสก์ก็จะเร็วกว่า แน่นอนราคาก็ย่อมแพงกว่าด้วย
  • ความทนทานและการรับประกัน อันนี้สำคัญมาก ขอแนะนำให้สอบถามจากผู้ที่เคยใช้งานมานาน ๆ ครับ ฮาร์ดดิสก์บางยี่ห้อจะค่อนข้างบอบบางมาก ใช้งานได้ไม่นานก็เริ่มออกอาการไม่ดีแล้ว โดยส่วนใหญ่จะเป็นฮาร์ดดิสก์ที่ราคาถูก ๆ ผมไม่ขอแนะนำให้ใช้นะครับถึงแม้ว่าจะมีการรับประกันที่นานกว่าก็ตาม เพราะว่าข้อมูลต่าง ๆ ในฮาร์ดดิสก์มีค่ามากกว่าการเสียเวลานำฮาร์ดดิสก์ไปเปลี่ยนหรือซ่อม
  • เสียง ก็เป็นส่วนประกอบอีกอย่างหนึ่ง แต่คงจะไม่สำคัญมากนัก ฮาร์ดดิสก์บางรุ่นเสียงจะค่อนข้างดังมาก ก็ต้องเลือกให้ดี

การเลือกซื้อ RAM สำหรับคอมพิวเตอร์

สำหรับ RAM ก็คงจะไม่มีอะไรมาก ควรเลือกซื้อยี่ห้อที่น่าเชื่อถือหน่อยก็ดี ขนาดของ RAM ที่จะใช้ขอแนะนำว่า การใช้งานคอมพิวเตอร์แบบทั่ว ๆ ไปกับ Windows 98 ควรที่จะมี RAM ประมาณ 64M. ไม่ขอแนะนำให้ใช้ RAM น้อยกว่านี้ ถึงแม้ว่าจะสามารถใช้งานได้ก็ตาม ิวเตอร์ใหม่คือ ถามใจคุณก่อนว่าต้องการซื้อคอมพิวเตอร์มาเพื่อทำอะไร เหตุผลหลัก ๆ ของผู้ใช้คอมพิวเตอร์ในสมัยนี้ผมขอแบ่งเป็นหัวข้อดังนี้

1. สำหรับใช้งานทั่ว ๆ ไปเช่น พิมพ์งานเอกสาร ต่าง ๆ หรือสำหรับเล่นอินเตอร์เน็ต
2. สำหรับการเล่นเกมส์คอมพิวเตอร์โดยเฉพาะ
3. สำหรับงานที่ต้องใช้ความเร็วของ CPU สูง เช่นการใช้ทำงานเกี่ยวกับ CAD หรือการ Encode ต่าง ๆ
4. สำหรับใช้เป็นเครื่อง Server

ดังนั้น คำถามแรกสำหรับคุณ คือต้องการที่จะ Upgrade หรือซื้อคอมพิวเตอร์ มาเพื่อใช้สำหรับทำอะไร แล้วก็เลือกอุปกรณ์ต่าง ๆ ให้เหมาะสมกับงานของคุณ (โดยที่อาจจะมีการเผื่อการ Upgrade ในอนาคตด้วย)

หลักการเลือกซื้อ CPU สำหรับคอมพิวเตอร์

การเลือก CPU สำหรับคอมพิวเตอร์ นี้ควรจะเป็นสิ่งแรก ที่ต้องนึกถึงก่อนอย่างอื่น ให้มองภาพให้ออกก่อนว่า CPU ที่มีใช้งานอยู่ในตลาดปัจจุบันนี้มีรุ่นไหน ความเร็วเท่าไรกันบ้าง อย่าลืมว่า ยิ่ง CPU ที่มีความเร็วสูง ๆ ราคาก็จะยิ่งแพงตามไปด้วย หากท่านเลือกซื้อ CPU ที่ราคาแพง ๆ เมื่อใช้งานไปได้สักระยะหนึ่ง CPU ที่คุณเคยภูมิใจนักหนา อาจจะมีราคาตกลงมา เหลือแค่หลักพันต้น ๆ ก็ได้ ดังนั้นควรเลือกซื้อ CPU ที่เหมาะกับการใช้งานของคุณเองดีกว่า หากต้องการใช้งาน คอมพิวเตอร์ แบบธรรมดา ใช้พิมพ์เอกสารต่าง ๆ เล่นอินเตอร์เน็ต ก็เลือก CPU ที่ราคาถูก ๆ ก็เพียงพอแล้ว แต่หากใครต้องการเน้นไปที่ การใช้งานแบบหนัก ๆ ก็คงจะต้องเลือก CPU ที่มีความเร็วและประสิทธิภาพสูงขึ้นไปอีกสักหน่อย อย่าลืมนะครับว่า ควรเลือกอุปกรณ์สำหรับเผื่อการ Upgrade ในอนาคตด้วย

การแบ่งชนิดของ CPU ขอแบ่งออกตามการออกแบบ และชนิดของเมนบอร์ดที่ใช้งานดังนี้

  • Intel Pentium 100-166 MHz ใช้กับเมนบอร์ดแบบ Socket 7 รุ่นแรก ๆ
  • Intel Pentium MMX 166-233 MHz ใช้กับเมนบอร์ดแบบ Socket 7 ที่ Support MMX
  • AMD K6-II 266-366 MHz ใช้กับเมนบอร์ดแบบ Socket 7 ทำงานที่ FSB 66 MHz
  • AMD K6-II 350-550 MHz ใช้กับเมนบอร์ดแบบ Super Socket 7 ทำงานที่ FSB 100 MHz
  • AMD K6-III 400-450 MHz ใช้กับเมนบอร์ดแบบ Super Socket 7 ทำงานที่ FSB 100 MHz
  • Intel Pentium II 233-333 MHz ใช้กับเมนบอร์ดแบบ Slot 1 ทำงานที่ FSB 66 MHz
  • Intel Pentium II 350-450 MHz ใช้กับเมนบอร์ดแบบ Slot 1 ทำงานที่ FSB 100 MHz
  • Intel Pentium III 450-600 MHz ใช้กับเมนบอร์ดแบบ Slot 1 ทำงานที่ FSB 100 MHz
  • Intel Pentium III Coppermine 500 MHz ขึ้นไป ใช้กับเมนบอร์ดแบบ Socket 370 FC-PGA
  • Intel Celeron 266-533 MHz ใช้กับเมนบอร์ดแบบ Socket 370 ทำงานที่ FSB 66 MHz
  • Intel Celeron II 566 MHz ขึ้นไป ใช้กับเมนบอร์ดแบบ Socket 370 ทำงานที่ FSB 66 MHz
  • AMD Athlon 500 MHz ขึ้นไป ใช้กับเมนบอร์ดแบบ Slot A ทำงานที่ FSB 200 MHz (DDR)
  • AMD Duron 550 MHz ขึ้นไป ใช้กับเมนบอร์ดแบบ Socket A ทำงานที่ FSB 200 MHz (DDR)

อีกปัจจัยหนึ่งของการเลือก CPU คือขนาดของ Cache นะครับ โดยที่ Cache ส่วนใหญ่จะแบ่งออกเป็น 2 แบบคือ L1 และ L2 Cache (หรือ Cache Level 1 กับ Level 2) จะอยู่ในแผ่นชิปเดียวกับ CPU ทำงานที่ความเร็วเท่ากับ CPU แบบ Full Speed หรือทำงานที่ความเร็วครึ่งหนึ่งของ CPU หรือเรียกว่า Half Speed ดังนั้น ต้องหาข้อมูลของ CPU รุ่นต่าง ๆ กันก่อนนะครับ ว่ารุ่นไหนมี L1 และ L2 ขนาดเท่าไร ทำงานที่ความเร็วเท่าไร ยิ่งจำนวนของ Cache มีมากเท่าไร ก็จะได้ประสิทธิภาพของ CPU มากขึ้นนะครับ แถมท้ายเป็นความรู้นิดนึงนะครับ ว่าด้วยเหตุผลนี้เองที่ทำให้ Intel ต้องออก CPU แบบ Celeron มาโดยลดขนาดของ Cache ลงเพื่อให้เป็น CPU ราคาถูกแข่งขันกับ AMD แต่การลดขนาดของ Cache ก็ทำให้ประสิทธิภาพลดลงไปด้วยนะ

หากจะแบ่ง CPU ตามราคาต่าง ๆ แล้ว ก็อาจจะสามารถแบ่งออกเป็น 2 ระดับ

  • CPU สำหรับตลาดระดับล่าง จะเป็น CPU ที่มีราคาค่อนข้างถูก คือ AMD K6II, AMD K6III และ Intel Celeron
  • CPU สำหรับตลาดระดับกลาง จะเป็น CPU ที่มีราคาสูงขึ้นมา แต่จะได้ประสิทธิภาพต่าง ๆ มากขึ้นเช่น Intel Pentium II, Intel Pentium III หรือ AMD Athlon
  • CPU สำหรับตลาดระดับสูง สำหรับงานที่ใช้ความเร็วค่อนข้างมากเช่นการทำ Server ต่าง ๆ ซึ่งขอไม่พูดถึง

ในส่วนของ CPU ของค่าย Intel รุ่นใหม่ ๆ ที่เป็นแบบ Coppermine เช่น 500E, 550E, 533EB จะเห็นว่ามีรหัสต่อท้ายความเร็วด้วยนะครับ โดยที่ความหมายของรหัสต่าง ๆ คือ

  • E หมายถึง CPU แบบ Coppermine ใช้เทคโนโลยี 0.18 ไมครอน ใช้ FSB 100 MHz
  • B หมายถึง CPU ที่ทำงานโดยใช้ FSB เป็น 133 MHz
  • EB หมายถึง CPU แบบ Coppermine ใช้เทคโนโลยี 0.18 ไมครอน ใช้ FSB 133 MHz
  • ในส่วนของ CPU ที่ความเร็วสูงกว่า 667 MHz จะไม่มีรหัสต่อท้ายนะครับ เพราะว่าถ้าความเร็วสูงกว่านี้ก็คือจะเป็น EB ทั้งหมดซึ่งใช้ FSB เป็น 133MHz

สำหรับการเลือก CPU ที่เป็นแบบ FSB 133 MHz ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง ที่จะทำให้ประสิทธิภาพ โดยรวมของระบบ ทำงานได้เร็วขึ้นกว่า CPU ที่ทำงานที่ FSB 100 MHz เพราะว่าการส่งถ่ายข้อมูลต่าง ๆ จะทำได้เร็วกว่า แต่ข้อเสียของ CPU แบบ FSB 133MHz คืออุปกรณ์ต่าง ๆ รอบข้างต้องมีคุณภาพค่อนข้างดีด้วย ไม่เช่นนั้นจะก่อให้เกิดปัญหาได้มาก และข้อเสียอีกอย่างหนึ่งก็คือ เพราะความเร็วบัสที่สูงถึง 133 MHz อยู่แล้วจึงทำให้การทำ Over Clock ทำได้ยากหรือทำไม่ได้เลย หากใครคิดจะซื้อมาลองทำ Over Clock ก้ให้เลือกแบบ FSB 100 MHz

หลักการเลือกซื้อ เมนบอร์ดสำหรับคอมพิวเตอร์

จากช้อมูลของ CPU ก็จะเห็นว่า เมนบอร์ด สามารถเบ่งออกเป็นหมวดใหญ่ ๆ ได้คือ Socket 7 , Slot 1, Socket 370, Slot A และ Socket A นะครับ ก่อนอื่น หากท่านคิดจะเลือก CPU ตัวใหม่หรือจะทำการ Upgrade CPU ตัวเก่า ก็ลองมองดูก่อนนะครับว่า เมนบอร์ดอันเก่าของคุณนั้นเป็นแบบไหน จากนั้นก็หาข้อมูลว่าเมนบอร์ดนั้น ๆ สามารถรองรับ CPU ได้ความเร็วสูงสุดเท่าไร ลองพิจารณาดูข้อมูลของเมนบอร์ดแบบต่าง ๆ และความเร็วสูงสุดของ CPU ที่มีออกวางจำหน่ายด้วยนะครับ เพราะว่าบางครั้ง คุณอาจจะเพียงแค่เปลี่ยน CPU อย่างเดียวโดยยังใช้เมนบอร์ดเดิมก็ได้ ซึ่งจะเป็นการประหยัดเงินไปได้มากครับ หากเป็นการเลือกซื้อ เมนบอร์ด ใหม่เลย ผมขอยกตัวอย่างนะครับ เช่น เมนบอร์ดแบบ Socket 7 ในปัจจุบันนี้ ก็จะมี CPU ที่มีความเร็วสูงสุดเพียงแค่ K6II-550 MHz เท่านั้น ซึ่งหากคิดว่าจะไม่ทำการ Upgrade เครื่องคอมพิวเตอร์ ก็สามารถเลือกตัวนี้ได้ (เพราะว่าราคาจะถูกกว่า) แต่สำหรับเมนบอร์ดแบบ Slot 1 หรือ Slot A ปัจจุบันนี้ ยังมี CPU รุ่นใหม่ ๆ ออกมาอยู่เรื่อย ๆ ซึ่งความเร็วสูงสุดอาจจะขึ้นไปถึง 1GHz ก็ได้ คงต้องรอดูกันต่อไป

ในส่วนของเมนบอร์ด ก็จะมีอุปกรณ์อีกชนิดหนึ่ง ที่นิยมใช้กันมากคือ Slotket โดยหน้าที่หลักคือเป็นตัว Adapter หรือตัวแปลงให้สามารถนำเอา CPU แบบ Socket 370 (เช่น Celeron หรือ Pentium Coppermine) มาใช้งานบนเมนบอร์ดแบบ Slot 1 ได้ ส่วนใหญ่แล้ว มักจะนิยมซื้อเมนบอร์ดแบบ Slot 1 มาใช้กันมากกว่า เพราะว่าสามารถใช้งานกับ CPU Celeron ซึ่งมีราคาถูกได้ เมื่อต้องการจะ Upgrade เครื่องก็เพียงแค่เปลี่ยน CPU ไปเป็น Pentium III หรือ Coppermine ได้โดยไม่ยากนัก

ปัจจัยสำคัญที่ไม่ควรมองข้ามสำหรับการเลือก เมนบอร์ด คือข้อมูลรายละเอียด Specification ต่าง ๆ ขอสรุปแนวทางการเลือกคร่าว ๆ ดังนี้

  • ชนิดและความเร็วของ CPU ที่ใช้งาน เช่นแบบ Socket 7, Slot 1 หรือแบบอื่น ๆ สามารถรองรับ CPU ความเร็ว ต่ำสุด-สูงสุด ได้เท่าไร
  • ชนิดของ Power Supply ว่าสามารถใช้กับ Power Supply แบบ AT หรือ ATX หรือใช้ได้ทั้งคู่
  • จำนวนของ ISA, PCI และ AGP Slot สำหรับเสียบการ์ดอุปกรณ์ต่าง ๆ ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้ว ISA จะเป็นอุปกรณ์แบบเก่า ๆ หากท่านยังใช้งานอุปกรณ์แบบ ISA อยู่ก็ต้องมองหาเมนบอร์ดที่มี ISA Slot ไว้ด้วย ส่วน PCI Slot จะเป็นการ์ดทั่ว ๆ ไปที่ใช้งานอยู่ และ AGP Slot ซึ่งใช้สำหรับการ์ดจอโดยเฉพาะ (AGP Slot จะมีเฉพาะในเมนบอร์ดรุ่นใหม่ ๆ และมีเพียงแค่อันเดียว) ก็ดูที่ความเร็วว่าเป็น AGP แบบ 1X, 2X หรือ 4X
  • ชนิดและจำนวนของช่องเสียบ RAM และขนาดของ RAM สูงสุดที่สามารถขยายได้ในอนาคต
  • การปรับแต่งค่าต่าง ๆ เป็นแบบ Jumper หรือแบบใช้ Software ปรับใน BIOS หากเป็นการปรับแต่งค่าต่าง ๆ ได้ใน BIOS ก็จะทำให้เราสามารถปรับเปลี่ยนค่าต่าง ๆ ได้โดยไม่ต้องเปิดฝาเคสชองเครื่องครับ
  • ความเร็วของ FSB และตัวคูณ ที่สามารถปรับแต่งได้ อันนี้สำหรับผู้ที่ต้องการทำ Over Clock นะครับเพราะเมนบอร์ดบางรุ่นจะสามารถปรับความเร็วของ CPU ได้อย่างละเอียด บางรุ่นจะปรับได้แค่ค่าที่ใช้งานทั่ว ๆ ไป ซึ่งก็ต้องดูจุดประสงค์สำหรับการใช้งานด้วย หากไม่ได้คิดจะทำ Over Clock ก็คงจะไม่จำเป็นนัก
  • การต่อใช้งาน HDD ถ้ารองรับ Interface ของ HDD แบบ UDMA-66 ก็จะช่วยให้การทำงานต่าง ๆ เร็วขึ้น
  • อุปกรณ์ Port ต่าง ๆ ที่มีแถมมาให้ด้วยเช่น USB Port หรือ Infrared Port
  • สำหรับการเลือกซื้อเมนบอร์ดเพื่อทำ Over Clock ก็ต้องเลือก เมนบอร์ด รุ่นที่มีความสามารถปรับอัตราส่วนความเร็วของแรม และความเร็วของระบบบัสต่าง ๆ ของ PCI หรือ AGP ที่ละเอียดขึ้นด้วยนะครับเช่นการใช้งานที่ FSB 133 MHz โดยที่ PCI และ AGP ยังทำงานในความเร็วมาตราฐานได้ด้วย
  • Chip Set ที่ใช้งานกับเมนบอร์ดนั้น ๆ ก็ลองมองดูสักหน่อยครับ ว่าเป็นของอะไร และจะมีปัญหากับอุปกรณ์อื่น ๆ หรือไม่ เช่นที่เคยทราบมาว่า Chip Set ของ ALI จะมีปัญหากับการ์ดจอของ TNT เป็นต้น อันนี้ต้องศึกษาข้อมูลเรื่องการไม่เข้ากันของอุปกรณ์บางอย่างให้ดีด้วยครับ รายละเอียดต่าง ๆ ผมขอแนะนำให้ลองหาข้อมูลตามเวปบอร์ดต่าง ๆ ที่มีคุยกันเรื่องเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์นะครับ เช่นที่ http://www.pantip.com เป็นต้น
  • เลือกยี่ห้อของเมนบอร์ดที่มีการ Support หรือการ Update Driver ใหม่ ๆ ได้ง่ายจากอินเตอร์เน็ต ซึ่งจะทำให้เราสามารถรับรู้ข่าวและการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้นรวมถึงการเปลี่ยนให้เมนบอร์ดสามารถใช้งานกับ CPU รุ่นใหม่ ๆ ที่อาจจะมีออกมาในอนาคตได้ด้วย

นอกจากนี้ สำหรับท่านที่มีงบน้อย ๆ เมนบอร์ดแบบ All in One เป็นเมนบอร์ดอีกแบบหนึ่ง ที่เรียกได้ว่ามีราคาประหยัดมากเลย ลักษณะของเมนบอร์ดชนิดนี้คือจะมีการนำเอา VGA Card, Sound Card, Modem, LAN Card หรืออุปกรณ์อื่น ๆ มารวมไว้บนเมนบอร์ดของคุณ ข้อดีของเมนบอร์ดขนิดนี้คือ ราคาถูก ได้อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่จำเป็นครบ โดยไม่ต้องไปหาซื้อเพิ่มเติม แต่ข้อเสียของเมนบอร์ดแบบนี้คือ อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่มารวมกันอยู่บนเมนบอร์ดนี้ จะทำให้ CPU ต้องแบ่งการทำงาน มาให้กับอุปกรณ์เหล่านี้ด้วย ซึ่งอาจจะทำให้เครื่องโดยรวมช้ากว่าการใช้เมนบอร์ดแบบแยกส่วนมาก นอกจากนี้ เมนบอร์ดแบบนี้จะไม่ค่อยมี Slot ของการ์ดต่าง ๆ มาให้ขยายเพิ่มเติมมากนัก ส่วนใหญ่จะมีแค่เพียง Slot เดียว ซึ่งทำให้ยากต่อการขยับขยายในอนาคต หรือถ้าหากอุปกรณ์บางอย่างเกิดเสียขึ้นมา ก็อาจจจะไม่สามารถเปลี่ยนเฉพาะอุปกรณ์นั้น ๆ ได้ (ในเมนบอร์ดรุ่นใหม่ ๆ อาจจะเปลี่ยนได้โดยการ Disable อุปกรณ์ที่มีอยู่บนเมนบอร์ดนั้น แล้วซื้อการ์ดใหม่มาเสียบแทน แต่ส่วนใหญ่ก็จะมีปัญหาตามมาครับ เช่นถ้ายกเลิก Sound Card ก็จะต้อง Disable Modem ที่อยู่บนเมนบอร์ดด้วย ต้องดูข้อมูลให้ดีนะครับ) สรุปว่า เมนบอร์ดแบบนี้เหมาะกับการใช้งานแบบธรรมดา พิมพ์เอกสาร เล่นอินเตอร์เน็ต ที่ไม่หนักมากนัก และไม่เน้นการเล่นเกมส์หรือการเพิ่มเติมเปลี่ยนแปลงอุปกรณ์บ่อย ๆ นัก เพราะว่าข้อดีของเมนบอร์ดแบบนี้คือ ราคาที่ถูกแสนถูก

การเลือกซื้อ Case สำหรับคอมพิวเตอร์

Power Supply และ Case สำหรับเมนบอร์ดก็เป็นอีกข้อหนึ่งครับที่ไม่ควรมองข้าง โดยทั่วไปแล้วคอมพิวเตอร์รุ่นเก่า ๆ จะใช้ Case แบบ AT แต่ถ้าหากเป็นรุ่นใหม่ ๆ แล้วจะเป็นแบบ ATX นะครับ ข้อดีของ Case และ Power Supply แบบ ATX คือ การออกแบบให้มีการระบายความร้อนได้ดีกว่า และการใช้ Power Supply แบบใหม่ซึ่งจะทำให้สามารถใช้งานระบบ Power Management ต่าง ๆ ได้เช่นการตั้งเวลา เปิด-ปิด เครื่อง เป็นต้น และนอกจากนี้อย่าลืมว่า เมนบอร์ดรุ่นใหม่ ๆ เดี๋ยวนี้ก็จะใช้กับ Case และ Power Supply แบบ ATX เป็นส่วนใหญ่หมดแล้วนะครับ สำหรับท่านที่คิดจะทำการ Upgrade เครื่องเดิมที่เป็น Case แบบ ATแต่หาเมนบอร์ดได้ยาก ก็ลองมองดูส่วนของ Case นี้ด้วยนะครับหากเป็นไปได้ก็อาจจะลงทุนซื้อ Case พร้อม Power Supply แบบ ATX ใหม่ไปเลย ราคาก็คงอยู่หลักพันต้น ๆ เท่านั้น

ขนาดของ Power Supply รุ่นเก่า ๆ จะเป็น 200 วัตต์ หากเป็น Power Supply รุ่นใหม่ ๆ หน่อยก็จะเป็น 230-250 วัตต์ หรือสูงกว่านี้แล้ว ถ้าเป็นไปได้ควรเลือกขนาดของ Power Supply ขนาดวัตต์สูง ๆ ไว้ก็ดี

การเลือกซื้อ ฮาร์ดดิสก์ สำหรับคอมพิวเตอร์

ในส่วนของ ฮาร์ดดิสก์ ก็คงจะไม่มีอะไรให้เลือกมากนัก หากเป็นการ Upgrade เครื่องเก่า ก็ลองมองดูว่า ฮาร์ดดิสก์ ตัวเดิมของคุณยังมีขนาดเพียงพอสำหรับการใช้งานหรือไม่ สิ่งแรกที่ผมมองว่าควรจะพิจารณา คือขนาดความจุ หากเป็นการซื้อฮาร์ดดิสก์ตัวใหม่ เลือกขนาดที่ใหญ่ ๆ ไว้ก่อนก็ดี (ถ้าคุณมีเงินมากพอ) เพราะว่าในอนาคต ความต้องการใช้งานฮาร์ดดิสก์จะต้องการขนาดความจะที่ใหญ่ขึ้นไปเรื่อย ๆ ผมขอสรุปปัจจัยสำคัญที่ไม่ควรมองข้ามในการเลือก ฮาร์ดดิสก์ ดังนี้

  • ขนาดความจุของฮาร์ดดิสก์ พิจารณาและคำนวณราคาต่อหน่วยความจำให้ดี
  • ความเร็วการส่งถ่ายข้อมูล จะมีแบบ UDMA-33 และ UDMA-66 ก็เลือกแบบ UDMA-66 เพราะการส่งถ่ายข้อมูลจะทำได้เร็วกว่า (โดยที่หลาย ๆ ท่านบอกว่า ไม่มากนัก) และหากใครคิดจะใช้ความสามารถแบบ UDMA-66 ให้เต็มที่ก็ต้องเลือก เมนบอร์ด ที่สามารถใช้งานฮาร์ดดิสก์แบบ UDMA-66 ด้วย
  • ขนาดของ Buffer ที่เห็นมีอยู่ในปัจจุบันก็จะเป็น 512K, 1M และ 2M ยิ่งขนาดมากก็ยิ่งดี (แต่จะแพงขึ้น)
  • ความเร็วรอบ จะเห็นมีอยู่ 2 แบบคือ 5,400 และ 7,200 รอบต่อนาที ถ้าความเร็วรอบสูง การเข้าถึงข้อมูลในฮาร์ดดิสก์ก็จะเร็วกว่า แน่นอนราคาก็ย่อมแพงกว่าด้วย
  • ความทนทานและการรับประกัน อันนี้สำคัญมาก ขอแนะนำให้สอบถามจากผู้ที่เคยใช้งานมานาน ๆ ครับ ฮาร์ดดิสก์บางยี่ห้อจะค่อนข้างบอบบางมาก ใช้งานได้ไม่นานก็เริ่มออกอาการไม่ดีแล้ว โดยส่วนใหญ่จะเป็นฮาร์ดดิสก์ที่ราคาถูก ๆ ผมไม่ขอแนะนำให้ใช้นะครับถึงแม้ว่าจะมีการรับประกันที่นานกว่าก็ตาม เพราะว่าข้อมูลต่าง ๆ ในฮาร์ดดิสก์มีค่ามากกว่าการเสียเวลานำฮาร์ดดิสก์ไปเปลี่ยนหรือซ่อม
  • เสียง ก็เป็นส่วนประกอบอีกอย่างหนึ่ง แต่คงจะไม่สำคัญมากนัก ฮาร์ดดิสก์บางรุ่นเสียงจะค่อนข้างดังมาก ก็ต้องเลือกให้ดี

การเลือกซื้อ RAM สำหรับคอมพิวเตอร์

สำหรับ RAM ก็คงจะไม่มีอะไรมาก ควรเลือกซื้อยี่ห้อที่น่าเชื่อถือหน่อยก็ดี ขนาดของ RAM ที่จะใช้ขอแนะนำว่า การใช้งานคอมพิวเตอร์แบบทั่ว ๆ ไปกับ Windows 98 ควรที่จะมี RAM ประมาณ 64M. ไม่ขอแนะนำให้ใช้ RAM น้อยกว่านี้ ถึงแม้ว่าจะสามารถใช้งานได้ก็ตาม เพราะว่าการที่ใช้ RAM น้อย ๆ จะทำให้ ฮาร์ดดิสก์ ต้องทำงานหนักขึ้นอีกมาก ๆ ครับซึ่งเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ ฮาร์ดดิสก์เสียได้เร็วกว่าที่ควรครับ หากท่านที่ต้องการเน้นการเล่นเกมส์ หรือการใช้งานหนัก ๆ ก็ควรจะมี RAM ไม่น้อยกว่า 128M. ครับ สำหรับการ Upgrade เครื่อง การเพิ่ม RAM จะเป็นทางเลือกที่ประหยัดที่สุด แต่คุณต้องดูด้วยครับว่า RAM ที่คุณมีอยู่เดิมนั้นเป็นแบบไหน EDO-RAM 72 pin หรือ SD-RAM 168 pin รวมทั้งเมนบอร์ดเดิมของคุณนั้น สามารถใส่ RAM แบบไหนได้บ้าง หลักการเพิ่มและเลือกซื้อ RAM ขอแนะนำข้อที่ควรดูเมื่อเลือกซื้อ RAM ดังนี้

  • ขนาดของ RAM ต่อ 1 ชิ้น อย่าลืมนะครับว่าบนเมนบอร์ดคุณ จะมีข้อจำกัดของช่องใส่ RAM เช่นใส่ได้ 3 หรือ 4 ช่อง หากเลือก RAM ที่มีขนาดน้อย ๆ ต่อชิ้น เช่นเลือก RAM แถวละ 32M. คุณก็ต้องซื้อ 2 แถวเพื่อให้ได้ 64M. ในอนาคตอยากจะเพิ่มอีก ก็จะเริ่มเป็นปัญหาว่าไม่มีช่องใส่ RAM พอได้
  • การใช้ RAM ที่มีขนาด และความเร็วที่ไม่เท่ากัน ก็อาจจะเป็นปัญหาให้กับระบบคอมพิวเตอร์ ของคุณได้เช่นการไม่เสถียร หรือแฮงค์บ่อย ๆ ได้ ดังนั้น ถ้าเป็นการซื้อ RAM ใหม่ให้เลือกขนาดที่ใหญ่ที่สุดที่คุณต้องการเลย เช่น 64M. หรือ 128M. ต่อ 1 แถวและใส่ให้น้อยแถวที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
  • ความเร็วของบัสแรม ก็ต้องเลือกให้เข้ากับ CPU และ เมนบอร์ดด้วย (ความเร็วส่วนใหญ่จะเป็น 66, 100 และ 133 MHz) เช่น Celeron ใช้ความถี่ FSB 66 MHz อาจจะใช้งานกับ RAM แบบ PC-66 ก็ได้ แต่หากคุณใช้ CPU Pentium II หรือ Pentium III ซึ่งใช้ความเร็ว FSB 100MHz ก็ต้องใช้ RAM แบบ PC-100 ด้วยหรือ CPU รุ่นใหม่ ๆ ที่ใช้ความเร็วบัส FSB 133 MHz ก็ต้องใช้แรมแบบ PC-133
  • ความเร็วของการส่งถ่ายข้อมูลของ RAM อันนี้คงจะดูกันยากหน่อย แต่โดยทั่วไปก็จะมีตัวเลขที่บอกความเร็วของการเข้าถึงข้อมูล เช่น 10 nsec, 8nsec หรือ 6 nsec เป็นต้น ตัวเลขยิ่งน้อย ก็ทำให้การเข้าถึงข้อมูลทำได้เร็วกว่า
  • สำหรับผู้ที่ต้องการ Over Clock ก็คงต้องเลือกยี่ห้อของ RAM กันหน่อย เคยได้ยินมาว่า RAM แบบ PC-