Time line

การสร้างภาพเคลื่อนไหว

             ในการสร้างเวบเพจเพื่อทำให้ดูน่าสนใจสำหรับผู้ที่มาเยี่ยมชม หรือใช้บริการเวบไซต์ของคุณสิ่งที่สำคัญคือการอัปเดตข้อมูลและเปลี่ยนแปลงเวบเพจในเวบไซต์ให้ทันสมัยอยู่เสมอ แต่สิ่งที่จะสร้างความประทับใจอย่างหนึ่ง คือ การที่เวบไซต์นั้นมีลูกเล่นต่างๆ ซึ่งอาจจะใช้ข้อความหรือรูปภาพ เป็นตัวดึงดูดความสนใจ และสำหรับลูกเล่นแบบหนึ่งที่นิยมใช้กันมากคือ การสร้างภาพเคลื่อนไหว (Animation) ซึ่งโปรแกรม Dreamweaver มีความสามารถในการสร้างภาพเคลื่อนไหวได้อย่างสะดวก และทำได้ง่ายเมื่อเทียบกับโปรแกรมอื่นๆ

เครื่องมือในการสร้างภาพเคลื่อนไหวของโปรแกรม Dreamweaver นั้นจะมีอยู่ 2 เครื่องมือหลัก คือ Timeline และ Keyframe ซึ่งสามารถใช้สร้างภาพเคลื่อนไหวได้ทั้งที่เป็นรูปภาพหรือข้อความ

Timeline คืออะไร
              เป็นเทคนิคทำภาพเคลื่อนไหวแบบง่าย ๆ โดยไม่ต้องใช้ Flash แก่ผลงาน ออกมาก็พอใช้ได้เลยทีเดียว ถ้าฝึกฝนบ่อย ๆ อาจ ทำให้ผู้ชมถึงกับตะลึง ๆ ก็ได้

Keyframe หมายถึงอะไร
           คำสั่ง Keyframe เป็นเครื่องมือที่ช่วยกำหนดจุดหรือตำแหน่งต่างๆของการเคลื่อนไหว ซึ่งจุดหรือตำแหน่งดังกล่าวนี้ สามารถเปลี่ยนทิศทางของเส้น Timeline เดิมได้ เช่นเส้น Timeline เดิมเป็นเส้นตรง แต่เมื่อพิมพ์ Keyframe ใหม่แล้ว จะทำให้มีทิศทางการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงไปเป็นเส้นโค้ง หรือเป็นไปตามทิศทางที่คุณได้ต้องการ

ขั้นตอนการทำ
การสร้างในเทคนิคนี้ต้องอาศัยเลเยอร์เข้ามาช่วยในการทำ
           ให้ทำการ Insert layer โดยคลิกจาก Object > common > layer
           หลังจากได้เลเยอร์แล้วให้ทำการขยายขนาดตามต้องการหรือจะใส่รูปสวย ๆ ลงไปก็ได้ แต่แนะนำให้สร้างเลเยอร์ไม่ใหญ่มาก นักเพราะตอนทำ Animation                  (ภาพเคลื่อนไหว) อาจจะบดบังทัศนียภาพของเวบเพจของเราได้
           หรือจะพิมพ์ข้อความตามตัวอย่างก็ได้

            จากนั้นให้คลิกที่ Modify > Timeline > Add Object to timeline หรือกด Ctrl + Alt + Shift + t

             จากนั้นให้มาคลิกที่เลเยอร์ให้ทำงานจากนั้นคลิกเมาส์ขวาเลือก Add to Timeline

            จากนั้นให้คลิกที่เฟรมที่ 5 คลิกเมาส์ขวา เลือก Add Keyframe (จะปรากฎจุดวงกลมขึ้นที่เฟรมที่ 5)

           จากนั้นให้เลื่อนเมาส์มาที่หูเลเยอร์ทำการเลื่อนเลเยอร์มากทางขวาล่างตามต้องการ

          ให้ทำเช่นเดียวกัน กับเฟรมที่ 10 แล้วลากเลเยอร์มาทางขวาบนดังภาพตัวอย่าง
          ทดสอบโดยการคลิกค้างที่ลูกศรที่ชี้ไปทางขวามือบน Timeline

          คลิก Autoplay และ Loop เพื่อให้ Timeline ทำงานและวน Loop ด้วย
          กด F12 จากนั้นจะเห็นผลงานระดับมืออาชีพเกิดขึ้น

Option บน Timeline inspector

= Name : ให้คลิกในชื่อ Timeline แล้วเติมชื่ออื่นลงไปแทน

= กรอกกลับไปเริ่มต้นดูใหม่ตั้งแต่ต้น

= ถอยหลังไป 1 Frame (กดค้างไว้)

= เดินหน้า 1 Frame (กดค้างจะเป็นการเล่นเทปชั่วคราว)

         autoplay พอเปิดหน้าเวบเพจมาก็สั่งแอคชั่น เลเยอร์จะวิ่งมาทันทีเลย
         Loop เมื่อเลเยอร์วิ่งมาจนสุด จะกลับไปวิ่งมาใหม่เรื่อย ๆ

FPS มาจาก frame per second หมายถึงให้ใส่จำนวนเฟรมที่ใช้ต่อวินาที

         Frame ก็เหมือนฟิล์มในหนัง ค่าปกติคือ is frame ต่อวินาทีตามที่เราตั้งไว้ซึ่งจากตัวอย่างเรามี 15 frame หมายถึงเลเยอร์นี้จะวิ่งมาปรากฎภายใน 1 วินาที ถ้าต้องการเพิ่ม frame30frame จะได้วิ่งมา 2 วินาทีให้ลาก Frame ใน Timeline
หมายเหตุ : ปกติหนังภาพยนตร์ใช้ 24-30 เฟรม จะดูสบายตากว่า แต่สำหรับเวบเพจแค่ 15 frame/วินาที ก็พอ

การเปลี่ยนชื่อ Timeline

ปกติเวลาคุณสร้าง Timeline โปรแกรม Dreamweaver จะตั้งชื่อ Timeline เป็น Timeline1 , Timeline2 ,......ตามลำดับ แต่หากคุณต้องการตั้งชื่อ Timeline เพื่อให้สื่อกับรูปแบบของการเคลื่อนไหวที่คุณต้องการคุณสามารถทำได้ตามขั้นตอนดังนี้

1 . ให้แสดงไดอะล็อกบ็อกซ์ของ Timeline ขึ้นมาก่อน หากไดอะล็อกบ็อกซ์ดังกล่าวยังไม่แสดง
2 . คลิกเมนู Modify แล้วเลือกคำสั่ง Timeline จากนั้นเลือกคำสั่งย่อย Rename Timeline
3 . ที่ไดอะล็อกบ็อกซ์ Rename Timeline ในช่อง Timeline Name ตั้งชื่อ Timeline ใหม่ตามที่ต้องการ จากนั้นคลิก OK


<< [ BACK ] [ NEXT ] >>

Copy Right © 2002"JesuswOrK" , All rights reserved.
These web sites are best viewed with an 800 x 600 screen resolution.
Web site designed by webmaster
  tel : (054) - 312281
1 1